วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ปฏิทินกิจกรรม

G dragon

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เที่ยวบุรีรัมย์กัน

วนอุทยานเขากระโดง





วนอุทยานเขากระโดง เขากระโดงเป็นภูเขาไฟเก่าแก่ที่มองเห็นลักษณะปากปล่องได้ชัดเจน อยู่ห่างจาก อำเภอเมือง 6 กิโลเมตร บนทางสายบุรีรัมย์-ประโคนชัย (ทางหลวงหมายเลข 219)วนอุทยานแห่งนี้มีพันธุ์ไม้- พื้นเมืองน่าศึกษาหลายชนิด สามารถขึ้นได้ 2 ทาง


คือ ทางรถยนต์ซึ่งตลอดเส้นทางจะพบพระพุทธรูปปางต่างๆ เรียงรายอยู่เป็นระยะ ส่วนทางขึ้นอีกทางหนึ่งเป็นบันได มีความสูงประมาณ 265 เมตร บนยอดเขากระโดงนี้ เป็นที่ประดิษฐานพระสุภัทรบพิตรซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่คู่เมืองบุรีรัมย์ และมีปรางค์กู่โบราณ ภายใน- ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองอยู่ด้วย






มีอ่างเก็บน้ำด้วยนะ



ไปเล่นน้ำกัน












ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น









ประวัติของอินเทอร์เน็ต



ประวัติของอินเทอร์เน็ต


อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหาร
ของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวริ์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก









ระบบเครือข่ายแบบเดิม




ระบบเครือข่ายแบบใหม่ที่ติดต่อกันได้อย่างอิสระ



การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้
ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก
ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น


อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย



ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ( Prince of Songkla University ) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที ( AIT ) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ( โครงการ IDP ) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC ( Thailand ) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน ( Domain ) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ( UUNET Technologies ) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ( AIT ) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” ( THAInet ) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ ( Gateway ) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป


วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดบุรีรัมย์

อทยานประวัติศาสตร์ปราสาทเขาพนมรุ้ง

ประวัติความเป็นมาปราสาทหินเขาพนมรุ้ง "อุทยานประวัติศาสตร์เขาพนมรุ้ง" ตั้งอยู่ ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ ์กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นเป็นโบราณสถาน สำหรับชาติในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2578ปัจจุบันอดีตกาลพนมรุ้งเป็นภูเขาไฟซึ่งผ่าน การระเบิดมาแล้วและธรรมชาติก็ได้เปลี่ยน แปลงปล่อง ภูเขาไฟ ให้เป็นแหล่งน้ำซึ่งมี ีปริมาณ น้ำมากเพียงพอต่อการบริโภคและ อุปโภคได้ตลอดปีสำหรับคนโดยทั่วไปและ สำหรับคนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งที่ขึ้นไปทำสิ่ง ก่อสร้างอันยิ่งใหญ่บนนั้น




ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง"เป็นศาสนสถานทางศาสนาพราหมณ์ ลัทธิศิวะนิกาย คือการยกเอาพระศิวะเป็นมหาเทพสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่สร้างเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16-18ร่วมสมัยกับปราสาทนครวัดซึ่งสร้างโดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 มหาราชองค์หนึ่งของ กัมพูชาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 17 นั้นเป็นศาสนสถานทางศาสนาพราหมณ์ลัทธิวิษณุนิกายคือการยกเอาพระนารายณ์โดยเหตุที่พระศิวะมีถิ่นฐานที่สถิตย์ประทับอยู่บนภูเขาพระสุเมรุ ฉะนั้นการที่บรรพชนในอดีตจะทำสิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่ถวายเป็นที่ประทับของ พระศิวะมหาเทพ จะต้องหาทำเลหรือชัยภูมิเพื่อจะสมมติว่าคือเขาพระสุเมรุจึงเลือกเอาพนมรุ้งสร้างสิ่งก่อสร้างด้วยหินทรายสีชมพูบนขอบปล่องภูเขาไฟด้านทิศใต้อันเป็นหนทางอันใกล้สวรรค์มากยิ่งกว่าพื้นราบและหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเพื่อ รับแสงแห่งดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นอันเป็นสิริมงคลและพลังอันยิ่งใหญ่ร้อนแรง

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์
ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์นั้น หมายถึง พระนารายณ์เทพองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์ บรรทมหลับพักผ่อนอยู่บนอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทรโดยมีพระนางลักษมีีซึ่งเป็นเทพีแห่งความงามและเป็นพระมเหสีคอยปรนนิบัติพัดวีมิให้ยุงริ้นไรมาไต่ตอมพระนารายณ์เพื่อให้บรรทมหลับพักผ่อนให้สบายเมื่อตื่นบรรทมมาแล้วแล้วและพระพรหมเทพอีกองค์หนึ่งของศาสนาพราหม์จะเป็นผู้สร้างโลกและทำสิ่งก่อสร้างขึ้นมาใหม่จึงเริ่มนับใหม่ครั้นสิ้นกัลปโลกก็จะแตกดับลงไปเองพระนารายณ์ก็จะบรรทมหลับพักผ่อนอีกครั้นหนึ่ง




ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

My BiGBanG

เด๋วจามาอัพให้ใหม่นะคะ ชอบบบบบ








วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข้อควรระวังในการใช้อินเทอร์เน็ต



ข้อควรระวังในการใช้อินเทอร์เน็ต
ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ไม่ถูกต้องเป็นจำนวนมากและบางครั้งก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมขึ้นในสังคม เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการโฆษณาชวนเชื่อหรือหลอกลวงผู้ใช้บริการให้หลงเชื่อทำให้ต้องสูญเสียเงิน ถูกล่วงเกินทางเพศหรือแม้กระทั่งเสียชีวิต การมีเว็บไซต์ขายบริการทางเพศและการที่เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดเกมส์ออนไลน์จนเสียการเรียน เป็นต้นดังนั้น ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจึงควรตระหนักถึงพิษภัยจากการนำเสนอ โฆษณาชวนเชื่อ และการขายบริการทุกประเภทผ่านทางอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการสนทนาทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ทราบแหล่งที่มาหรือตัวบุคคลที่แน่ชัด ซึ่งผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตต้องเพิ่มความระมัดระวังไม่ควรให้ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ สถานที่ติดต่อหรือไปพบกับบุคคลแปลกหน้า ที่สนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ตตามลำพัง และในกรณีที่มีเหตุการณ์ผิดปกติหรือมีบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจมาติดต่อให้ออกไปพบนอกสถานที่ ควรแจ้งให้บิดามารดาหรือบุคคลใกล้ชิด หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลอกลวงไปสู่อาชญากรรมต่อไป สำหรับเวลาที่เหมาะสมในการเล่นเกมส์ของเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี จำกัดไม่เกิน 3 ชั่วโมง ผู้ปกครองจึงควรกวดขันลูกหลานและชี้ให้เห็นโทษของการเล่นเกมส์เป็นเวลานานติดต่อกันให้ลูกหลานทราบด้วย



ที่มา: http://writer.dek-d.com/maxchat/story/view.php?id=504084

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต




จรรยามารยาทบนอินเทอร์เน็ต (Netiquette) ทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในแทบทุกด้าน รวมทั้งได้ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาขึ้นในสังคม ไม่ว่าในเรื่อง ความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย เสรีภาพของการพูดอ่านเขียน ความซื่อสัตย์ รวมถึงความตระหนักในเรื่องพฤติกรรมที่เราปฏิบัติต่อกันและกันในสังคมอินเทอร์เน็ต ในบทความนี้ผู้เขียนขอทบทวนเรื่อง จรรยามารยาทบนอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกกันในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า “Netiquette” เพื่อให้เป็นของฝากสำหรับสมาชิกใหม่ที่เรียกกันว่า “Net Newbies” และให้เป็นของแถมเพื่อการทบทวนสำหรับนักท่องเน็ตที่เป็น “ขาประจำ”

Netiquette คืออะไร
Netiquette เป็นคำที่มาจาก “network etiquette” หมายถึง จรรยามารยาทของการอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ต หรือ cyberspace ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามาแลกเปลี่ยน สื่อสาร และทำกิจกรรมรวมกัน ชุมชนใหญ่บ้างเล็กบ้างบนอินเทอร์เน็ตนั้น ก็ไม่ต่างจากสังคมบนโลกแห่งความเป็นจริง ที่จำเป็นต้องมีกฎกติกา (codes of conduct) เพื่อใช้เป็นกลไกสำหรับการกำกับดูแลพฤติกรรมและการปฏิสัมพันธ์ของสมาชิก
บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้เริ่มต้น

ถ้าศึกษาค้นคว้าในเรื่อง Netiquette บนเว็บ จะพบการอ้างอิงและกล่าวถึง The Core Rules of Netiquette จากหนังสือเรื่อง “Netiquette” เขียนโดย Virginia Shea ซึ่งเธอได้บัญญัติกฎกติกาที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพึงตระหนักและยึดเป็นแนวปฏิบัติ 10 ข้อ ดังนี้
Remember the Human
กฏข้อที่ 1 เป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในขณะที่เรานั่งพิมพ์ข้อความเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านจอคอมพิวเตอร์นั้น ต้องไม่ลืมว่าปลายทางอีกด้านหนึ่งของการสื่อสารนั้นที่จริงแล้วก็คือ “มนุษย์”
Adhere to the same standards of behavior online that you follow in real life
กฎข้อที่ 2 เป็นหลักคิดง่าย ๆ ที่อาจจะยึดเป็นแนวปฏิบัติ หากไม่รู้ว่าควรจะทำตัวอย่างไร ก็ให้ยึดกติกามารยาทที่เราถือปฏิบัติในสังคมมาเป็นบรรทัดฐานของการอยู่ร่วมกันแบบออนไลน์
Know where you are in cyberspace
กฎข้อที่ 3 เป็นข้อแนะนำให้เราใช้งานอย่างมีสติ รู้ตัวว่าเรากำลังอยู่ ณ ที่ใด เมื่อเข้าในพื้นที่ใหม่ ควรศึกษาและทำความรู้จักกับชุมชนนั้น ก่อนที่จะเข้าร่วมสนทนาหรือทำกิจกรรมใด ๆ
Respect other people's time and bandwidth
กฎข้อที่ 4 ให้รู้จักเคารพผู้อื่นด้วยการตระหนักในเรื่องเวลา ซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดช่องสัญญาณของการเข้าถึงเครือข่าย นั่นคือ ให้คำนึงถึงสาระเนื้อหาที่จะส่งออกไป ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มสนทนาหรือการส่งอีเมล เราควรจะ “คิดสักนิดก่อน submit” ใช้เวลาตรึกตรองสักหน่อยว่า ข้อความเหล่านั้นเหมาะสมหรือมีสาระประโยชน์กับใครมากน้อยเพียงใด
Make yourself look good online
กฎข้อที่ 5 เป็นข้อแนะนำผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการเขียนและการใช้ภาษา เนื่องจากปัจจุบันวิธีการสื่อสารบนเน็ตใช้การเขียนและข้อความเป็นหลัก การตัดสินว่าคนที่เราติดต่อสื่อสารด้วยเป็นคนแบบใด จะอาศัยสาระเนื้อหารวมทั้งคำที่ใช้ ดังนั้น ถ้าจะให้ “ดูดี” ก็ควรใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมและตรวจสอบคำสะกดให้ถูกต้อง
Share expert knowledge
กฎข้อที่ 6 เป็นข้อแนะนำให้เรารู้จักใช้จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบของอินเทอร์เน็ต นั่นคือ การใช้เครือข่ายเพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยน ”ความรู้” รวมทั้งประสบการณ์กับผู้คนจำนวนมาก ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
Help keep flame wars under control
กฎข้อที่ 7 เป็นข้อคิดที่ต้องการให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ร่วมมือกันเพื่อช่วยควบคุมและลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการส่งความคิดเห็นด้วยการใช้คำที่หยาบคาย เติมอารมณ์ความรู้สึกอย่างรุนแรงจนเป็นชนวนให้เกิดกรณีทะเลาะวิวาทกันในกลุ่มสมาชิก ซึ่งรู้จักกันในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า “flame”
Respect other people's privacy
กฎข้อที่ 8 เป็นคำเตือนให้เรารู้จักเคารพในความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่นไม่อ่านอีเมลของผู้อื่น เป็นต้น
Don't abuse your power
กฎข้อที่ 9 เป็นคำเตือนสำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษ เช่น ผู้ดูแลระบบบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่น บุคคลเหล่านี้ก็ไม่ควรใช้อำนาจหรือสิทธิ์ที่ได้รับไปในทางที่ไม่ถูกต้องและเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น
Be forgiving of other people's mistakes
กฎข้อที่ 10 เป็นคำแนะนำให้เรารู้จักให้อภัยผู้อื่น โดยเฉพาะพวก newbies ในกรณีที่พบว่าเขาทำผิดพลาดหรือไม่เหมาะสม และหากมีโอกาสแนะนำคนเหล่านั้น ก็ควรจะชี้ข้อผิดพลาดและให้คำแนะนำอย่างสุภาพ โดยอาจส่งข้อความแจ้งถึงผู้นั้นโดยตรงผ่านทางอีเมล
ที่มา:th.wikipedia.org/wiki/มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต

ความรู้เกี่ยวกับ Internet Proxy-Services







ความเป็นมา
ปัจจุบันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สื่อสารด้วยโปรโตคอล TCP/IP ได้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง และมีการเชื่อต่อกันเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นเครือข่ายความพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดเครือข่ายหนึ่ง จนได้รับการขนานนามว่า อภิมหาเครือข่าย (Internet) จากจุดเริ่มต้นของการใช้อินเตอร์เน็ต มีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเพียง 4 เครื่อง จนถึงปัจจุบันเวลาผ่านไปประมาณ 30 ปี มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นถึง 16 ล้านเครื่อง และมีผู้ใช้มากกว่า 1,000 ล้านคน และยังมีแนวโน้มที่มากขึ้นเป็นทวีคูณ
เมื่อปริมาณของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายและจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปริมาณ ข้อมูลที่ผ่านเข้าออกในเครือข่ายมีจำนวนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดปัญหาการคับคั่งของข้อมูลปริมาณมาก
ปัญหาที่พบ
เมื่อจำนวนของข้อมูลมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ทำให้เครือข่ายที่มีอยู่เดิมนั้น ต้องรับภาระในการ บริการข้อมูลจำนวนมาก บางเครือข่ายไม่สามารถให้บริการใด ๆ ได้เลย หรือบางเครือข่ายไม่สามารถบริการได้ เท่ากับความต้องการของผู้ใช้เช่น เกิดความล่าช้อของข้อมูล หรือ มีการสูญหายเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนไม่สามารถที่จะยอมรับได้
ถึงแม้ในปัจจุบันเทคโนโลยี ของสายนำสัญญาณจะพัฒนาขึ้นจากเดิมมาก กล่าวคือสามารถที่จะส่งข้อมูลได้ ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นกว่าเดิมมากแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้อยู่ดี



แนวทางแก้ปัญหา



มีกลุ่มคนหลายกลุ่มที่พยายามที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ทั้งที่เน้นการแก้ปัญหาความคับคั่งของปริมาณข้อมูล
แนวความความคิดหนึ่งที่น่าสนใจคือ การนำข้อมูลที่ต้องใช้บ่อย ๆ มาเก็บไว้ให้ใกล้เราที่สุด นั้นคือการนำข้อมูล ที่มีในที่ต่าง ๆ ที่สมาชิกใน local network ต้องการใช้บ่อยครั้งมาเก็บไว้ใน local network เช่น การทำ FTP Server ภายในหน่วยงาน ซึ่งจะทำการ mirrors ข้อมูลจาก FTP site ต่าง ๆ ที่มีข้อมูลน่าใช้มาเก็บไว้ เพื่อลดปริมาณการติดต่อกับภายนอกเครือข่าย ซึ่งจะทำให้ การติดต่อกับเครือข่ายภายนอกมีความคล่องตัวสูงขึ้น
อีกแนวความคิดหนึ่งที่มีผู้นำมาประยุกต์จนสามารถใช้งานได้จริงคือ การคัดเลือกการติดต่อที่ไม่ต้องการการโต้ตอบ แบบทันทีทันใด เช่น FTP, HTTP มาพัฒนาจนได้ server ที่มีลักษณะการทำงานเช่นเดียวกับข้อ 1 ซึ่งการทำงานของ server ลักษณะนี้คือ เมื่อ client ต้องการข้อมูลใดที่เป็นลักษณะของ HTTP หรือ FTP จะติดต่อผ่าน Proxy Server หากข้อมูลนั้นปรากฎอยู่บน proxy ก็จะนำข้อมูลนั้นมา ใช้ แต่ถ้าไม่พบ proxy ก็จะติดต่อไปยังปลายทาง(แหล่งที่ client ต้องการข้อมูล) และสำเนาข้อมูลนั้นมาเก็บที่ server



Proxy Server Service



การเชื่อมต่อ Proxy Server กันจนเป็นเครือข่ายก็เป็นระบบที่ช่วยให้ปริมาณข้อมูลที่ต้องวิ่งเข้า-ออก ลดลงได้มาก ดังตัวอย่างที่ยกมา เป็นการจำลองว่า ถ้าผู้ใช้ WEB อยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต้องการ link ไปที่บริษัทในประเทศ หาก เคยมีผู้ link ไปยัง site นี้แล้ว ก็จะไม่มีการ download ข้อมูลที่มีอยู่แล้วใน proxy มาอีก ซึ่งจะทำให้ลดปริมาณ ของ data-stream ลงไปในระดับหนึ่ง หรือหากไม่มีข้อมูลใน Proxy.ku.ac.th ก็จะไปตรวจใน Proxy.ac.th ไปเป็นทอด ๆ หากไม่มีข้อมูลอยู่ใน Proxy Server ใด ๆ เลย ก็จะไปอ่านข้อมูลจาก Web-Site นั้น



ข้อเสีย

ข้อเสียของระบบนี้คือ บางครั้งอาจไม่ได้ข้อมูลที่ใหม่ที่สุด เนื่อจาก proxy server บางที่ มีการ update ข้อมูลเป็นประจำ แต่บางที่ไม่ค่ อยมีการ update ข้อมูลเท่าใดนัก

ความน่าเบื่อ