วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เวลาว่าง

มาดูกันว่าเวลาเราทามไร



นิ่งเป็นหลับ ขยับเป็นกิน เอิ๊กๆๆ
สร้างกริตเตอร์
ฟังเพลง ดารา เกมส์




โอม..... ร๊ากกกกก GrU หลงงงงง GrU ร๊ากกกกก GrU หลงงงงง GrU เพี้ยง.....
สร้างกริตเตอร์
ฟังเพลง ดารา เกมส์

ชอบๆๆ

เป็นปลื้ม












นู๋แว่น^-^



ชื่อ นางสาวสุกัญญา ผลพาเลิศ


ชื่อเล่น กระต่าย
รหัสประจำตัว 50011810128
เกิดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1988
จบจาก โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม
กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สังกัดคณะ สัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์
คติ ทำในสิ่งที่อยากทำ และอย่าทำให้ใครเดือดร้อน

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce

ข้อดี

1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง

2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก

3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ

4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ

5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก

6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย

7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย

8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย

1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ

2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้

3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต

4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์

5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

ประโยชน์ของ E-Commerce

ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)







ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นช่องทางการค้าที่น่าสนใจมาก เพราะนับวันก็ยิ่งมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งส่งผลให้การค้าทางอินเตอร์เน็ตขยายตัวได้อย่าง รวดเร็วและการทำธุรกิจบนเว็บไซต์นั้นสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้มากมายหลายประการ ได้แก่
1. ทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก นักท่องอินเตอร์เน็ตจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามาในเว็บไซต์ของบริษัทได้ตลอดเวลาผู้ขายสามารถนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว โดยคำสั่งซื้ออาจเกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมงและมาจากที่ต่างๆกัน
2. ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ และประหยัดค่าใช้จ่าย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นั้นมีประโยชน์ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือสามารถ เสนอข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดให้กับลูกค้าได้ทันทีซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสาร และประหยัดเวลาในการประชาสัมพันธ์
3. ทำงานแทนพนักงานขาย และเพิ่มประสิทธิภาพการขาย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำงานแทนพนักงานขายของคุณได้ โดยสามารถทำการค้าในรูปแบบอัตโนมัติ และดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการทางธุรกิจภายในองค์กรนั้นๆ
4. แทนหน้าร้าน หรือบูทแสดงสินค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงสินค้าที่มีอยู่ให้กับลูกค้าทั่วโลกได้มองเห็นสินค้าของคุณ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตกแต่งหน้าร้าน หรือในการเดินทางออกไปในบูทแสดงสินค้าในที่ต่างๆ
5. เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยในการทำให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การแสดงสินค้าโดยผู้ชมสามารถดูสินค้าได้ 180 องศา หรือลูกค้าสามารถอ่านหัวข้อของหนังสือที่ต้องการซื้อก่อนได้

6. ง่ายต่อการชำระเงิน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถชำระเงินได้อย่างสะดวกสบายโดยวิธีการตัดผ่านบัตรเครดิตหรือการโอนเงินเข้าบัญชีซึ่งจะเป็นระบบอัตโนมัติ
7. เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ในโลกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บริษัทขนาดเล็กสามารถมีโอกาสทางธุรกิจเทียบได้กับบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่าง เป็นต้นว่า ชื่อ URL ของบริษัทควรจะจำง่าย การออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงามและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ การสั่งซื้อและการชำระเงินมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี เป็นต้น
8. สร้างความประทับใจและพึงพอใจได้มากกว่า ปัจจุบันการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตทำได้อย่างง่ายดาย สินค้าและบริการมีให้เลือกมากมายทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง และเสียเวลาไปกับการค้นหาสินค้าและบริการที่ต้องการ ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วที่สุด เช่น ถ้าลูกค้าต้องการซื้อของตกแต่งบ้านจากเว็บไซต์ bangpa-in.com ลูกค้าสามารถจะค้นหาสินค้าจากประเภทของสินค้า หรือค้นหาตามรูปแบบที่ต้องการได้ ในกรณีที่ลูกค้าสั่งสินค้าและได้ให้รายละเอียดส่วนตัวไว้ ร้านค้าสามารถ บันทึก รายละเอียดของลูกค้าไว้ในฐานข้อมูลของเราเพื่อความสะดวกของลูกค้าในการสั่งซื้อสินค้าครั้งต่อไป(Member System)
9. รู้และแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถให้บริการหลังการขายได้เช่นกัน โดยใช้ประโยชน์จากอีเมลล์ในการติดต่อลูกค้า การสร้างแบบสอบถามลูกค้าเพื่อสอบถามความพึงพอใจต่อสินค้าและบริการทำให้ร้านค้าสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นและทันท่วงที

ความหมายของ E-Commerce

ความหมายของ E-Commerce



E-Commerce ก็คือ การดำเนินการธุรกิจการซื้อหรือการขายสินค้าบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต โดยที่ผู้ซื้อสามารถทำธุรกรรมทั้งหมดได้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการเลือกชมสินค้า ซื้อสินค้า คำนวนเงินที่ต้องชำระ




ชำระเงินได้ทั้งผ่านบัตรเครดิต โอนเงิน ได้โดยอัตโนมัติ และในส่วนของผู้ขายเองก็สามารถนำเสนอสินค้า ประชาสัมพันธ์ จัดโปรโมชัน ตรวจสอบวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้า รับการชำระเงิน จัดการกับสินค้าได้ทั้งหมดเหมือนกับมีร้านค้าจริงๆ ในความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม ลด แก้ไข รายการสินค้าภายในร้าน รวมถึงการประสานงานไปยังผู้จัดส่งสินค้า โดยอัตโนมัต ซึ่งกระบวนการทั้งหมดที่ได้กล่าวมาสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ต้องเดินทางไปพบกัน

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันครู

วันครู

ความหมาย

ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ



ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙




ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน




ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้




ที่มา : http://www.zabzaa.com/event/teacher.htm

สวัสดีปีใหม่ 2553

งานเทศกาลปีใหม่เมืองพัทยา (Pattaya Countdown)





โอ้วว!!งานเทศกาลปีใหม่เมืองพัทยา (Pattaya Countdown) จังหวัดชลบุรี


วันจัดงาน : วันที่ 25 – 31 ธันวาคม 2552
สถานที่จัดงาน : ท่าเทียบเรือท่องเที่ยว(แหลมบาลีฮาย) พัทยาใต้เมืองพัทยา จ.ชลบุรี



กิจกรรม
- กิจกรรมวันคริสต์มาส เปิดไฟประดับถนน
- กิจกรรม Pattaya Countdown 20010
- การออกร้านจากร้านค้าชั้นนำ
- การเล่นเกมส์รับของรางวัล
- การแสดงศิลปะวัฒนธรรมไทย
- การประกวด ร้อง/เต้น
- การเปิดแผ่นของดีเจทั่วฟ้าเมืองไทย
- คอนเสิร์ตจากศิลปินชั้นนำ และชมการจุดพลุสุดอลังการ





ที่มา : http://talk.edtguide.com/pattaya-countdown.html

การแสดงของภาคใต้

การแสคงของภาคใต้

ภาคใต้ เป็นดินแดนที่ติดทะเลทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก ทางด้านใต้ติดกับมลายู ทำให้รับวัฒนธรรมของมลายูมาบ้าง และมีขนบประเพณีวัฒนธรรมและบุคคลิกบางอย่างคล้ายคลีงกัน คือ พูดเร็ว อุปนิสัยว่องไว ตัดสินใจรวดเร็วเด็ดขาด การแต่งกาย เพลง และดนตรีคล้ายคลึงกันมากการแสดงพื้นเมืองภาคใต้ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ




๑. มหรสพ คือ การแสดงเป็นเรื่อง เช่น หนังตะลุง มีตัวหนัง มีคนเชิด มีการร้องและเจรจา นอกจากนั้นมี ลิเกป่า หรือลิเกรำมะนา หรือลิเกแขกแดง หรือลิเกแขกเทศ หรือลิเกบก ซึ่งผู้แสดงโต้ตอบกันเป็นเรื่องราว อีกการแสดงคือ โนรา ถ้าเล่นเป็นเรื่องก็ถือเป็นมหรสพ แต่ถ้าร่ายรำเป็นชุด ก็ถือเป็นการแสดงเบ็ดเตล็ด




๒. การแสดงเบ็ดเตล็ด คือ ร่ายรำเป็นชุด เช่น โนรา ร็องเง็ง ซัมเปง ตารีกีปัส ระบำร่อนแร่ กรีดยาง ปาเต๊ะ รำซัดชาตรี ดนตรีของภาคใต้ ได้แก่ กลองแขก รำมะนา ปี่ ทับ โหม่ง ฉิ่ง





การรำมโนรา










ที่มา : http://show-organize.com/index.php?type=content&c_id=4174&ct_id=79096

อาหารภาคใต้

อาหารภาคใต้

ภาคใต้... เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด ลักษณะภูมิประเทศ เป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเล ผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเล อาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล


อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้ มักเกี่ยวข้องกับปลา และสิ่งอื่น ๆ จากท้องทะเล อาหารทะเลหรือปลา โดยธรรมชาติจะมีกลิ่นคาวจัด อาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีนัก ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลือง ๆ แทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ก็มีขมิ้นกันทั้งสิ้น และมองในอีกด้านหนึ่งคงเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้นั่นเอง


เพราะชีวิตของคนภาคใต้ เกี่ยวข้องกับทะเล เมื่อออกทะเลหาอาหารมาได้มากเกิดรับประทานให้หมดในหนึ่งมื้อได้ คนภาคใต้จึงนำอาหารที่ได้จากทะเลมาทำการถนอมอาหาร เช่น กุ้งส้ม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กุ้งแตะ ซึ่งจะมีสีเขียว งชนิดนี้เมื่อนำมาทำเป็นกุ้งส้ม สีจะออกแดง ๆ และมีรสเปรี้ยว การทำกุ้งส้มนั้น นำกุ้งมาหมักกับเกลือ น้ำตาลทราย หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วันจนมีรสเปรี้ยว จึงนำมาทำอาหารรับประทานได้





อาหารปักษ์ใต้แม้จะเป็นอาหารที่อร่อย น่าลิ้มลอง แต่สิ่งหนึ่งที่ประทับใจผู้คน คือความเผ็ดร้อนของรสชาติอาหารผู้คนในภาคใต้นิยมรสอาหารที่เผ็ดจัด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่นิยมรสหวาน รสเผ็ดของอาหารปักษ์ใต้มาจากพริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้งและพริกไทย ส่วนรสเค็มได้จากกะปิ เกลือ รสเปรี้ยว ได้จากส้มแขก น้ำส้มลูกโหนดตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียก และมะขามสด เป็นต้น


เนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆ อย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่ไปด้วย เพื่อลดความเผ็ดร้อนลงซึ่งคนภาคใต้ เรียกว่า ผักเหนาะ หรือบางจังหวัดอาจเรียกว่า ผักเกร็ด ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่าง บางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ แต่ก็มีผักอีกหลายอย่างที่รู้จักกันเฉพาะคนภาคใต้เท่านั้น การเสิร์ฟผักเหนาะกับอาหารปักษ์ใต้ ชนิดของผักจะคล้าย ๆกัน หรืออาจเป็นผักที่ผู้รับประทานชอบก็ได้

ชนเผ่าพื้นเมืองของใต้

ซาไก อีกหนึ่งวิถีของชนเผ่า
หลายพันปีมาแล้วในพื้นที่ทางตอนใต้ของไทยไล่เลยลงไปถึงพื้นที่บางส่วนทางตอนเหนือของมาเลเซีย มีชนพื้นเมืองดั้งเดิมอาศัยอยู่มาก่อนใคร ชนพื้นเมืองกลุ่มดังกล่าวได้แก่ “ซาไก” หรือ “เงาะป่าซาไก” วันเวลาล่วงมาผู้คนต่างถิ่นขยับขยายพื้นที่พัฒนาแหล่งชุมชนของตนให้เติบใหญ่ขึ้น ทว่าชนเผ่าซาไกยังคงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ตามรูปแบบเดิมของตนมาจวบจนปัจจุบัน
ชนพื้นเมืองเผ่าซาไกในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มหลายเหล่า บางกลุ่มใช้ชีวิตที่ใกล้ชิดกับผู้คนทั่วไปมากขึ้น แต่ก็ยังมีบางกลุ่มที่ยังคงใช้ชีวิตเร่ร่อนในป่าแบบเดิมที่เคยเป็นมาในอดีต เช่นซาไกกลุ่มหนึ่งประมาณ 20 คน ในเขตพื้นที่อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ชนเผ่ากลุ่มนี้ยังคงใช้ชีวิตแบบเร่ร่อนไปตามป่าทึบในแนวเทือกเขาบรรทัด เขตจังหวัดสตูล พัทลุง และตรัง ซึ่งการพบปะทำได้ยาก เพราะชนเผ่านี้ไม่มีการนับวันเวลาและปฏิทินใดๆ
แต่ก็มีชนเผ่าบางกลุ่มที่มีการเปิดรับรูปแบบชีวิตจากผู้คนทั่วไปมากขึ้น เริ่มมีการปลูกสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งตามแนวป่าไม่ไกลจากชาวบ้านมากนัก จนทำให้เราสามารถพบเห็นชนเผ่าซาไกได้ง่ายขึ้นในปัจจุบัน เช่นที่บ้านเขาติง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ซึ่งเริ่มมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้าไปสัมผัสวิถีชีวิตของพวกเขาได้อย่างใกล้ชิด แต่ยังจำเป็นต้องติดต่อผ่านผู้นำทางที่เป็นชาวบ้านในท้องถิ่นเท่านั้น เพราะซาไกจะคุ้นเคยกับชาวบ้านในพื้นที่เท่านั้น จะทำให้การเดินทางในพื้นที่เป็นไปได้โดยง่าย ชาวซาไกในพื้นที่บ้านติงเป็นชนเผ่ากลุ่มที่พัฒนามากขึ้นแล้ว บางคนทำการค้าขายกับชาวบ้านทั่วไป บางคนขายแรงงาน ซาไกกลุ่มนี้ไม่เร่ร่อน อีกทั้งยังแต่งกายใส่เสื้อผ้าเหมือนผู้คนทั่วไป
การเดินทางไปยังบ้านเขาติงนั้น จากตัวเมืองตรังให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 404 (ตรัง-สตูล) มุ่งหน้าสู่อำเภอทุ่งขาว จากนั้นใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 416 จนกระทั่งถึงตำบลลิพัง ให้เลี้ยวซ้าย จากนันตรงไปอีกราว 6 กิโลเมตรจะถึงบ้านเขาติง ที่บ้านเขาติงไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยวทั่วไป แต่สามารถเข้าไปกางเต้นท์พักค้างแรมบริเวณใกล้เคียงกับชาวซาไกได้ โดยต้องแจ้งกับคนนำทางก่อน สิ่งสำคัญนักท่องเที่ยวจำเป็นต้องเตรียมอาหารและน้ำดื่มไปเอง เนื่องจากไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆในพื้นที่ แหล่งชุมชนของเผ่าซาไกอยู่ไม่ห่างจากบ้านเขาติงมากนัก เดินทางจากหมู่บ้านเพียง 1 ชั่วโมง เส้นทางเป็นถนนลูกรัง ระยะทางราว 2 กิโลเมตร สามารถเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี เมื่อกลับออกมาจากการดูวิถีชาวซาไกที่บ้านเขาติงแล้วยังสามารถขับรถไปท่องเที่ยวที่ น้ำตกโตนตก น้ำตกโตนเต๊ะ และน้ำตกคลองตง ได้อีกด้วย
ความเปลี่ยนแปลงจะคุกคามวิถีชีวิตของชาวซาไกจากนี้ตลอดไปตราบเท่าที่มนุษย์ยังคงต้องติดต่อกัน ชาวซาไกจะต้องเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคย เราในฐานะผู้ที่เปลี่ยนแปลงล้ำหน้าพวกเขาไปมากแล้ว คงต้องอยู่ในบทบาทผู้หยิบยื่นการเปลี่ยนแปลงนั้นแก่พวกเขา เราจำเป็นต้องเข้าใจวิถีเดิมที่เป็นมาของชนเผ่านี้ การศึกษาเรียนรู้ระหว่างกันนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ

การแต่งกาย

การแต่งกายประจำภาคใต้




ภาคใต้ มีภาษาพูดประจำถิ่นที่ห้วนๆ สั้นๆ เป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า “ภาษาใต้หรือแหลงใต้” ส่วนกลุ่มคนที่อยู่แถบชายแดนไทย-มาเลเซีย นิยมพูด ภาษายาวี หรือภาษามาเลเซีย ตัวอย่างภาษาพูดภาคใต้ เช่น แหลง (พูด) หร๋อย (อร่อย) ทำไหร๋ (ทำอะไร) บางท้องถิ่นใช้ภาษายาวี เพราะนับถือศาสนาอิสลาม การแต่งกายภาคใต้ ภาคนี้มีการแต่งกายต่างกันตามเชื้อชาติ ถ้าเชื้อสายจีนจะแต่งแบบจีน ถ้าเป็นชาวมุสลิม ก็จะแต่งคล้ายกับชาวมาเลเซีย
ปัจจุบันแหล่งทำผ้าแบบดั้งเดิมนั้นเกือบจะสูญหายไป คงพบได้เฉพาะ 4 แหล่งเท่านั้นคือ ที่ตำบลพุมเรี้ยง จังหวัดสุราษฎร์ธานี , อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช , เกาะยอ จังหวัดสงขลา และตำบลนาหมื่นศรี จังหวัดตรังการแต่งกายของชาวใต้ การแต่งกายนั้นแตกต่างกันในการใช้วัสดุ และรูปแบบโดยมีเอกลักษณ์ไปตามเชื้อชาติ ของผู้คนอันหลากหลายที่เข้ามาอยู่อาศัยในดินแดนอันเก่าแก่แห่งนี้พอจำแนกเป็น
กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้ี้


1. กลุ่มเชื้อสายจีน – มาลายู เรียกชนกลุ่มนี้ว่ายะหยา หรือ ยอนย่า เป็นกลุ่มชาวจีน เชื้อสายฮกเกี๊ยนที่มาสมรสกับชนพื้นเมืองเชื้อสายมาลายู ชาวยะหยาจึงมีการแต่งกายอันสวยงาม ที่ผสมผสาน รูปแบบของชาวจีนและมาลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ,เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิมอยู่


2. กลุ่มชาวไทยมุสลิม ชนดั้งเดิม ของดินแดนนี้นับถือศาสนาอิสลาม และมี เชื้อสายมาลายู ยังคงแต่งกายตามประเพณี อันเก่าแก่ฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลิน หรือลูกไม้ตัวยาวแบบมลายูนุ่งซิ่นปาเต๊ะ หรือ ซิ่นทอแบบมาลายู ฝ่ายชายใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น ที่เรียกว่า ผ้าซองเก็ต พันรอบเอวถ้าอยู่ บ้านหรือลำลองจะใส่โสร่ง ลายตารางทอด้วยฝ้าย และสวมหมวกถักหรือ เย็บด้วยผ้ากำมะหยี่


3. กลุ่มชาวไทยพุทธ ชนพื้นบ้าน แต่งกายคล้ายชาวไทยภาคกลาง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือ ผ้าซิ่นด้วย ผ้ายกอันสวยงาม ใส่เสื้อสีอ่อนคอกลม แขนสามส่วน ส่วนฝ่ายชายนุ่งกางเกงชาวเล หรือ โจงกระเบนเช่นกัน สวมเสื้อผ้าฝ้ายและ มีผ้าขาวม้าผูกเอว หรือพาดบ่าเวลาออกนอกบ้านหรือไปงานพิธี








ที่มา: http://www.thainame.net/weblampang/fourthai/page2/sount.html